ดร.แพง ชินพงศ์
คุณผู้อ่านคงทราบแล้วว่าประโยชน์ของดนตรีนั้นมีหลายด้าน ทั้งช่วยให้มีความสุข มีความสนุกสนานเพลิดเพลิน มีอารมณ์ดี มีสมาธิดี และปัจจุบันก็ยอมรับกันว่าดนตรียังช่วยพัฒนาสมองได้ด้วย แต่นอกเหนือจากประโยชน์ต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าดนตรียังสามารถช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย ทางจิตใจ และช่วยรักษาโรคภัยให้แก่คนทุกเพศทุกวัยได้อีกด้วย ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้ประโยชน์ของดนตรีสำหรับเด็ก
*ดนตรีพัฒนาเด็กพิเศษ
-เด็กออทิสติก เป็นเด็กที่มีโรคส่วนตัวสูง ชอบอยู่กับตัวเอง มักมีปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมเช่นไม่อยู่นิ่ง ซนผิดปกติ และมีปัญหาในการสื่อสารกับผู้อื่น การนำดนตรีที่มีจังหวะช้ามาให้เด็กออทิสติกฟังในขณะที่เขาทำกิจกรรมต่างๆจะช่วยให้จิตใจของพวกเขาเกิดความสงบและผ่อนคลาย
-เด็กบกพร่องด้านสติปัญญา เป็นเด็กที่มีสติปัญญาอยู่ในระดับต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกัน การใช้ดนตรีที่มีจังหวะสนุกสนานในกิจกรรมเข้าจังหวะต่างๆ จะทำให้พวกเขาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่นคิดท่าเต้นตามเนื้อเพลง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้สมองของพวกเขาเปิดรับการเรียนรู้ใหม่ๆได้รวดเร็วขึ้น
-เด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม เป็นเด็กที่ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก หากเป็นเด็กขี้อายหรือขี้กลัว การได้ฟังดนตรีที่มีจังหวะสนุก จะเร้าให้เด็ก ๆ กล้าแสดงออกโดยการเต้น การกระโดดตามจังหวะดนตรี นอกจากนี้เวลาที่เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมดนตรีร่วมกับเพื่อนๆ ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้เขาได้สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นและทำให้พวกเขาสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ง่ายขึ้น แต่หากเป็นเด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ควรให้ฟังดนตรีที่มีจังหวะช้า ๆ เพื่อให้เด็กได้ผ่อนคลาย สบายใจ และปลดปล่อยอารมณ์ไปตามเสียงดนตรี ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาใจเย็น และอารมณ์สงบได้
ประโยชน์ของดนตรีสำหรับวัยรุ่น
*ดนตรีช่วยลดความอ้วน
ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อเพราะในต่างประเทศมีการทดลองโดยให้กลุ่มเด็กวัยรุ่นที่มีปัญหาเรื้อรังเรื่องการมีน้ำหนักตัวมากเพราะกินอาหารมากเกินไป ได้ฟังดนตรีบรรเลงเบาๆเช่นดนตรีคลาสสิก ก่อนที่จะรับประทานอาหารและขณะที่รับประทานอาหาร ซึ่งผลปรากฏว่าหนึ่งในผู้เข้ารับการบำบัดน้ำหนักลดลงถึง 40 ปอนด์ จากการสัมภาษณ์เธอบอกว่าดนตรีช่วยให้เธอรู้สึกสงบ เกิดความมุ่งมั่นในการที่จะลดน้ำหนักและมีการเคี้ยวอาหารที่ช้าลงและอิ่มเร็วขึ้น จึงมีผลทำให้มีน้ำหนักตัวลดลงนั่นเอง
ประโยชน์ของดนตรีสำหรับผู้สูงวัย
*ดนตรีช่วยชะลอความแก่
ดนตรีเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยให้ผู้สูงวัยรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะดนตรีมีความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจและร่างกาย เมื่อได้ฟังดนตรีที่มีท่วงทำนองและจังหวะที่สนุกสนานแล้วก็จะเกิดความสดชื่น มีชีวิตชีวา พอคนเรามีความรู้สึกเช่นนี้ สมองก็จะหลั่งสาร “เอ็นดอร์ฟิน” (Endorphine) หรือ “สารแห่งความสุข”ออกมา ทำให้มีอารมณ์เบิกบานแจ่มใส หรือการที่ผู้สูงวัยได้ร้องเพลง ได้เต้นรำ ได้เล่นเครื่องดนตรีต่างๆ ก็เป็นการช่วยให้ได้ระบายอารมณ์และความรู้สึกผ่านทางจังหวะของดนตรี ซึ่งจังหวะเหล่านั้นสามารถ ปลุกจิตใจและร่างกายที่ห่อเหี่ยวให้กลับมีชีวิตชีวาขึ้นมาได้อย่างน่าประหลาดเลยทีเดียว
*ดนตรีช่วยให้นอนหลับง่าย
ผู้สูงวัยมักมีปัญหาเรื่องการนอนหลับยาก บางครั้งนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ทำให้เกิดอาการเซื่องซึม เฉื่อยชา และหงุดหงิดอารมณ์เสียได้ง่าย มีผลการวิจัยทางการแพทย์สรุปออกมาว่า ผู้ที่มีปัญหาในเรื่องการนอนหลับยาก เมื่อได้ฟังเพลงบรรเลงเบาๆก่อนนอนจะช่วยทำให้สามารถนอนหลับสนิทได้เร็วขึ้น และสำหรับคนที่มีปัญหานอนฝันร้ายเป็นประจำ ก็พบว่าหลังจากที่ได้มีการเปิดเพลงบรรเลงเบาๆที่มีเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงน้ำตก เสียงคลื่นในทะเล ฟังก่อนนอน จะช่วยทำให้เกิดความรู้สึกสงบ ผ่อนคลาย และนอนหลับฝันดีได้
คุณผู้อ่านคงเห็นแล้วว่า ดนตรีคือวิตามินชั้นดีที่หาได้ใกล้ๆตัว ซึ่งไม่ต้องเสียเงินแพงๆ ซื้อหามาเหมือนวิตามินอื่นๆ ดนตรีบรรจุสารพัดประโยชน์ที่ดีและมีคุณค่าต่อทั้งร่างกายและจิตใจของคนทุกเพศทุกวัย ทั้งช่วยพัฒนาสมอง ช่วยปรับพฤติกรรมที่บกพร่อง ช่วยเยียวยาความรู้สึก ช่วยทำให้จิตใจเบิกบานและช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง แล้ววันนี้คุณได้รับดนตรีวิตามินชั้นดีแล้วหรือยัง?
- ความอ้วน ทำให้ไขมันที่อยู่บริเวณคอซึ่งมีมากไปกดทับช่องคอให้แคบลงและไขมันที่อยู่ บริเวณหน้าท้องทำให้กระบังลมทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้การหายใจติดขัด
- ดื่มสุรา ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงซึ่งส่งผลให้ทางเดินหายใจอุดตันและสมองขาดออกซิเยนหรือสูบบุหรี่ ทำให้การทำงานของระบบทางเดินหายใจเสื่อมและแคบลง ทั้งทำให้คอหอยอักเสบเพราะมีการระคายเคือง
- โรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ไซนัส เยื่อบุจมูกอักเสบ หรือโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไฮโปไทรอยด์ คือภาวะที่ฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกายต่ำ หรือโรคที่เกิดจากกรรมพันธุ์ต่างๆ เช่น ดาวน์ซินโดรม
การรักษาอาการนอนกรน โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1) นอนในท่าทางที่สบายหรือนอนตะแคงข้าง ไม่ควรนอนหงายเพราะทำให้ลิ้นตกไปด้านหลังชิดกับผนังช่องคอทำให้เกิดการอุดตัน
2) ลดความอ้วน จะช่วยให้ขนาดของช่องคอเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้อากาศไหลผ่านลงสู่ปอดได้สะดวก ขึ้น ซึ่งช่วยให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนมีมากขึ้น
3) ออกกำลังกาย
4) งดสุรา ช่วยให้การหยุดหายใจจากการที่ทางเดินหายใจอุดตันลดลง ทำให้นอนกรนลดลง
5) เลิกสูบบุหรี่ทำให้ผนังคอลดการอักเสบลงและช่วยให้เสมหะที่มีมากลดลงเช่นกัน จึงทำให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้น
นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถรักษาทางการแพทย์ได้โดยอาจใช้เครื่องช่วยหายใจ Nasal CPAP ซึ่งเครื่องนี้จะทำให้ช่องทางเดินหายใจที่แคบกว้างขึ้น หรือหากอาการหนักกว่านั้นอาจต้องผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาทางเดินหายใจอุดตัน
3. อาการนอนละเมอ เป็นอาการที่เกิดในช่วงที่ร่างกายมีสติสัมปชัญญะต่ำอย่างเช่นในเวลานอน ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย ความเครียดหรือความวิตกกังวลต่าง ๆ การพบเห็นสิ่งที่ทำให้ฝังอยู่ในใจ เช่น เห็นภาพการต่อสู้ เห็นภาพที่น่าเกลียดน่ากลัว หรือไปทำกิจกรรมอะไรมาแล้วยังนึกถึงสิ่งนั้นอยู่ก่อนจะนอนหลับไป เช่น ไปเล่นกีฬามา ไปดูคอนเสิร์ตมา
ซึ่งลักษณะของอาการคือมีการเคลื่อนไหวร่างกายหรือมีการกระทำต่าง ๆ ในขณะที่ไม่รู้สึกตัว ซึ่งการนอนละเมอทำให้เกิดผลเสียได้มากมาย ทั้งต่อร่างกายเนื่องจากร่างกายพักผ่อนได้ไม่เต็มที่และเหน็ดเหนื่อยจากการที่ได้ไปทำอะไรต่าง ๆ มา ผลเสียต่อการงานเพราะเมื่อร่างกายพักผ่อนไม่เต็มที่ก็จะมีอาการง่วง อ่อนเพลีย ขาดสมาธิในการงานและการเรียน และผลเสียด้านอื่น ๆ เนื่องจากเราไม่รู้ว่าเราทำอะไรลงไปบ้างขณะนอนละเมออยู่ เช่น อาจไปทำร้ายใครหรือด่าใครเข้าก็ได้
การรักษาอาการนอนละเมอ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
1) อย่ากระตุ้นตนเองด้วยการทำกิจกรรมที่ตื่นเต้นหรือโลดโผนเกินไป
2) งดการนอนกลางวัน เพื่อถึงเวลานอนกลางคืนจะได้หลับสนิทอย่างเต็มที่
3) จัดห้องนอน ที่นอนและหมอนให้สบาย และไม่ควรเปิดไฟนอนเพราะจะรบกวนการนอน
4) เปิดเพลงเบา ๆ เพื่อผ่อนคลาย
5) ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย นึกถึงเรื่องที่ทำให้มีความสุข
4. โรคไหลตาย คือโรคที่ทำให้เสียชีวิตอย่างกะทันหันเพราะหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรง ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากสารโปแตสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ทำให้การนำไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หัวใจจึงเต้นผิดจังหวะทำให้เสียชีวิต หรืออาจเกิดจากมีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจแต่ไม่รู้จึงไม่ได้รักษามาก่อน เมื่อมันแสดงอาการร้ายแรงขึ้นมาทำให้เสียชีวิตไปแบบไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัวเลยก็ได้
การรักษาโรคไหลตายทำได้ยาก เพราะอย่างที่ทราบคือมันเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว ไม่รู้มันจะเกิดเมื่อไหร่ แต่ทางที่ดีคือการป้องกันโดยหมั่นดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงและตรวจเช็คร่าง กายโดยเฉพาะการทำงานของระบบหัวใจไว้บ้างก็ดี เผื่อว่ามีอาการผิดปกติจะได้รักษาไว้ก่อนก็น่าจะทำให้สบายใจได้เปลาะหนึ่ง
โรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นกับคนเราได้เสมอไม่เว้นแม้แต่เวลานอน ดังนั้น เราควรต้องให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองทั้งยามปกติและยามอยู่บนเตียงนอนด้วย เพื่อว่าชีวิตของเราจะได้พ้นจากโรคภัยหรืออาการทรมานทั้งหลาย และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสุขสันต์ตลอดปีหน้าฟ้าใหม่นี้
Thank : manager online
...............................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น