งานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งได้ทบทวนผลการวิจัย 4 ชิ้น ซึ่งมาจากประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย โดยพบว่า ยิ่งรับประทานข้าวขาวมากก็ยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ ดังนั้น ชาวเอเชียที่มีแนวโน้มกินข้าวขาวมากกว่าชาวตะวันตก คือราว 3-4 มื้อต่อวันเทียบกับ 1-2 มื้อต่อสัปดาห์ คนเหล่านี้จึงมีความเสี่ยงต่อเบาหวานชนิดที่ 2 สูง โดยคนที่กินมากที่สุดจะมีความเสี่ยงสูงที่สุด
นักวิจัย ดร.ฉี ซุน แห่งคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด บอก "การกินข้าวขาวในแต่ละมื้อต่อวันมีความเชื่อมโยงกับการมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นเบาหวาน เป็นเรื่องดีที่จะกินข้าวข้าวเป็นครั้งคราว สัปดาห์ละ 1-2 มื้อ แม้การบริโภคข้าวข้าวอย่างที่พบในประเทศเอเชียจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานก็ตาม"
ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวอาจเกิดจากผลของข้าวขาวที่มีต่อระดับน้ำตาลในเลือด เพราะข้าวขาวมีมีค่าดัชนีกลีเซมิก (จีไอ) สูง ซึ่งวัดจากอัตราความเร็วที่น้ำตาลกลูโคสถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดภายหลังการกิน ส่วนอาหารที่มีค่าจีไอต่ำ เช่น ข้าวกล้อง จะย่อยช้า ซึ่งทำให้คนเรารู้สึกอิ่มนานขึ้น และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าคงที่มากกว่า นอกจากนั้นแล้ว ข้าวที่ขัดสีจนขาวยังมีสารอาหารต่ำกว่าด้วย อาทิ ใยอาหาร และแมกนีเซียม ซึ่งช่วยป้องกันเบาหวานชนิด 2
งานวิจัยทบทวนชิ้นนี้ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร British Medical Journal ได้ประเมินการกินข้าวขาวแต่ละมื้อที่น้ำหนัก 158 กรัม และได้นำปัจจัยอื่น ๆ มาร่วมพิจารณาด้วย เช่น น้ำหนักตัว ระดับการออกกำลังกาย และอาหารการกินของอาสาสมัคร ในช่วงการติดตามผลซึ่งกินเวลาตั้งแต่ 4-22 ปีนั้น มีอาสาสมัครกลายเป็นโรคเบาหวานราว 13,200 คน
ขณะที่แคเธอรีน คอลลินส์ นักกำหนดอาหารแห่งโรงพยาบาลเซนต์จอร์จ กรุงลอนดอน กล่าวว่า การกินข้าวขาวทำให้ชาวเอเชียมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นเบาหวาน แต่ชาวตะวันตกคงไม่มีความเสี่ยงนี้ เพราะชาวตะวันตกกินข้าวขาวกันน้อย และยังมีอาหารการกินและการออกกำลังกายแตกต่างจากชาวเอเชีย
Thank : ไทยโพสต์
..................................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น