เฉาก๊วยทำมาจาก
หญ้าชนิดหนึ่งในตระกูลเดียวกับมินต์ มีชื่อเรียกว่าอย่างเป็นทางการ ?Mesona chinensis?ส่วนคนไทยเราจะเรียกหญ้าชนิดนี้ว่า ?หญ้าเฉาก๊วย? หญ้าเฉาก๊วยสามารถพบได้มากในประเทศจีน ดังนั้น จึงไม่แปลกที่ขนมหวานชนิดนี้จะมีที่มาจากเมืองจีน และมีชื่อเรียกเป็นภาษาจีน
ทว่า ในหมู่ของคนจีนเองก็จะเรียกเจ้าขนมหวานชนิดนี้แตกต่างกันออกไปตามภาษาถิ่น เช่น ในภาษาจีนกลางจะเรียกว่า ?เหลียงเฝิ่น? หรือ ?เซียนเฉ่า? ที่แปลว่าหญ้าเทวดา ขณะที่ชาวมาเลย์จะเรียกว่า ?จินเจา? เป็นต้น
เฉาก๊วย มีสรรพคุณแก้ร้อนในกระหายน้ำ เหมาะกับสภาพภูมิอากาศร้อนแบบบ้านเราเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับ "เฉาก๊วย" นั้น ถ้าแตกออกเป็น 2 คำ คือ "เฉา" จะหมายถึง หญ้า ส่วน "ก๊วย" แปลว่า ขนม เมื่อรวมกันจึงหมายถึง "ขนมที่ทำจากหญ้า" นั่งเอง ซึ่งหญ้าที่ใช้ทำเฉาก๊วยเป็นสมุนไพรจีนชนิดหนึ่ง (หาซื้อไหด้ตามร้านขายขนมยาจีน) ที่มีกลิ่นหอม เมื่อนำมาเคี่ยวจนได้น้ำสีดำเข้ม แล้วผสมกับแป้งมัน ทิ้งไว้ให้เย็น ก็จะได้เฉาก๊วยเนื้อนิ่มหยุ่นอย่างที่เห็น ซึ่งถ้าเป็นเฉาก๊วยแบบโบราณ แค่ใส่น้ำตาลทรายแดงกับน้ำแข็งก็อร่อยชื่นใจแล้ว แต่หากเป็นเฉาก๊วยแบบแข็งที่มีเนื้อกรุบๆ และขูดเป็นเส้นจะมีวิธีทำที่คล้ายกัน เพียงเปลี่ยนจากแป้งมันเป็นผงวุ้นเท่านั้น
...........................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น