การเจ็บป่วยไม่สบายที่เกิดขึ้นกับตัวเรา บางครั้งหลายคนมักคิดว่าตัวเองทำงานหนักเกินไปหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ กินยาเดี๋ยวก็หาย แต่จริงแล้วอาการผิดปกติต่างๆ อาจเป็นเพราะ น้ำในร่างกายไม่สมดุลจึงทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเกิดการแปรปรวน ยิงอากาศร้อนๆ ด้วยแล้วยิ่งต้องดูแลสุขภาพให้ดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราจะทราบได้อย่างไรว่าร่างกายของเราเกิดภาวะน้ำในร่างกายไม่สมดุล
แพทย์หญิงจิตเข เทพชาตรี แพทย์เวชศาสตร์ชะลอวัย ศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัยโรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า ร่างกายของเราเกิดจากการรวมตัวกันของเซลล์จนมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นเนื้อเยื่อ อวัยวะ และระบบต่างๆ ซึ่งภายในเซลล์เล็กเหล่านั้นก็คือ “น้ำ” นั่นเอง แต่ไม่ใช่แค่เซลล์เท่านั้นที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ เลือด น้ำเหลือง น้ำย่อย ของเหลวในลูกตา สมอง ไขสันหลัง เยื่อหุ้มปอด หัวใจ ฯลฯ หรือที่เรียกรวมกันว่าของเหลวนอกเซลล์ก็มีน้ำอยู่เช่นเดียวกัน ดังนั้นน้ำจึงเป็นส่วนประกอบหลักในร่างกายของเรา
น้ำภายในและนอกเซลล์นั้นมี “อิเล็กโทรไลต์” หรือเรียกว่า “เกลือแร่” เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม คลอไรด์ ฟอสเฟต และไบคาร์บอเนต ละลายปนอยู่ด้วยน้ำจึงมีความเข้มข้น ซึ่งอิเล็กโทรไลต์ทุกตัวมีความสำคัญในการรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย เช่น โซเดียม โดยแพทย์มักให้คนไข้โรคหัวใจหรือโรคไต จำกัดปริมาณเกลือที่ได้รับในแต่ละวันก็เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย โดยปกติแล้วโซเดียมเป็นส่วนประกอบของเซลล์นอกเซลล์ น้ำจากร่างกายจะไหลจากด้านที่มีความเข้มข้นเท่ากับภายใน โดยไม่ทำให้ปริมาณของอิเล็กโทรไลต์เปลี่ยนแปลง
ร่างกายมีกลไกควบคุมปริมาณน้ำ เช่น เมื่อเริ่มขนาดน้ำ ความเข้มข้นของของเหลวนอกเซลล์เริ่มสูงขึ้น ร่างกายจะส่งสัญญาณไปกระตุ้นสมองให้เกิดความกระหายน้ำขึ้น หากเราไม่ได้ดื่มน้ำหรือดื่มไม่เพียงพอ ร่างกายจะมีการควบคุมของเสียน้ำผ่านฮอร์โมนหลัก 2 ตัว คือ ฮอร์โมนแอนไทไดยูเรติกและแอลโดสเทอโรนส่งสัญญาณไปบอกไตให้เก็บกักน้ำและโซเดียมมากขึ้น ปัสสาวะจึงมีปริมาณน้อยลงและมีสีเหลืองเข้มหรือหรือในทางตรงกันข้ามหากร่างกายมีปริมาณน้ำมากเกินจะมีการกระตุ้นดังกล่าวทำให้มีการขับน้ำออก จนเข้าสู่ภาวะสมดุลปริมาณปัสสาวะจึงมากและมีสีจาง การทีร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่ารักเข้าเรียกว่า “ภาวะขาด” แต่ถ้า ได้รับน้ำมากเกินเรียกว่า “ภาวะน้ำเกิน” ทั้งสองภาวะจะแสดงอาการต่างๆ ออกมาดังนี้ หากเป็นภาวะขาดน้ำจะส่งสัญญาณผ่านทางอาการไม่สบายต่างๆ ดังนี้
1. ปวดศีรษะเพราะเมื่อขาดน้ำ เลือดจะหนืดข้นขึ้นปริมาตรเลือดทั้งร่างกายจึงลดลง หัวใจเลยต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ โดยเพิ่มอัตราการบีบตัวและกระตุ้นเส้นเลือดให้หดตัว เส้นประสาทที่พันรอบเส้นเลือดจึงถูกบีบส่งผลให้อาการปวด แต่ที่ไม่ปวดบริเวณอื่นเพราะศรีษะมีเส้นประสาทจำนวนมากจึงไวต่อความรู้สึกมากกว่าส่วนอื่น
2. หงุดหงิด ง่วงซึม ไม่มีแรวง เบลอ เนื่องจากการที่เลือดขึ้นไปเลี้ยงสมองและกล้ามเนื้อไม่เพียงพอเพราะปริมาตรของเลือดลดลงเมื่อขนาดน้ำ
3. แผลร้อนใน เวลาที่ร่างกายขาดน้ำ อุณหภูมิภายในจะเพิ่มสูงขึ้น เนื้อเยื่อภายในช่องปากเลยได้รับผลกระทบ คล้ายกับผิวหนังโดนน้ำร้อนลวกจนบวมแดง พองเป็นถุงน้ำใสและแตกเป็นแผลในที่สุด
4. ท้องผูก เมื่อปริมาณน้ำในระบบเลือดลดลง ร่างกายจะดึงน้ำจากทุกระบบรวมทั้งบริเวณปลายลำไส้ใหญ่มาหล่อเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เช่น ตับ ไต และสมอง ดังนั้นจึงทำให้ท้องผูก
5. ผิวหนังแห้งกร้าน เพราะถูกดึงน้ำออกมาเพื่อหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนสำคัญกว่าจึงทำให้ท้องผูก
6. ความดันเลือดต่ำ เนื่องจากแรงดันระบบไหลเวียนโลหิตลดลงเมื่อขาดน้ำจึงทำให้รู้สึกหน้ามืด อ่อนเพลีย วิงเวียน
7. ตากลวงลึกและดำคล้ำ เพราะรอบดวงตาโดยเฉพาะใต้ตาของเรามีของเหลวบรรจุอยู่ เมื่อรางกายเสียน้ำไปมาก บริเวณดังกล่าวจึงโดนดึงน้ำออกไปทำให้ตาโหลและมีรอยซ้ำ
8. ปากแห้ง เพราะร่างกายหยุดผลิตน้ำลาย ส่งผลให้กลืนอาหารลำบากและกระเพาะต้องรับภาวะหนักขึ้นเพราะขาดเอนไซม์ในน้ำลายช่วยย่อยอาหารจำพวกไขมัน แป้งและน้ำตาล
อย่างไรก็ตามภาวะขาดน้ำอย่างเดียวไม่อันตรายถึงตาย เพราะร่างกายบังคับให้เราดื่มน้ำโดยอัตโนมัติผ่านทางความรู้สึกกระหายน้ำหรือกักเก็บน้ำจากอาหารที่รับประทานเข้าไป แต่หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในภาวะที่ขาดน้ำต่อไปเรื่อยๆ อาการดังกล่าวในข้างต้นจะส่งผลต่อสุขภาพอาจเจ็บไข้ได้ป่วย
ส่วนภาวะน้ำเกินเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีอาการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ออกไป หากเราทดแทนแต่น้ำไม่มีการทดแทนเกลือแร่จะทำให้เกิดความไม่สมดุลขึ้น โดยการดื่มน้ำเปล่าเข้าไปจะยิ่งทำให้ระบบในร่างกายทำงานขัดข้อง เนื่องจากดื่มน้ำเข้าไปจำนวนมาก ของเหลวนอกเซลล์จะมีความเข้มข้นน้อยกว่าของเหลวภายในเซลล์จนเกิดภาวะเซลล์บวมขึ้น ซึ่งเซลล์สมองเป็นเซลล์ที่มีความไวต่อการถูกกระตุ้นจึงแสดงอาการออกมา คือเวียนศีรษะ สับสน กระสับกระส่าย และง่วงซึม หากยังไม่หยุดดื่มน้ำอาการจะรุนแรงขึ้นถึงขั้นหมดสติ ระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลวและตายในที่สุด หรือเรียกอีกชื่อว่า “ภาวะน้ำเป็นพิษ” แต่มีโอกาสเกิดขึ้นน้อย เพราะไตสามารถจัดการน้ำที่เราดื่มเข้าไปได้มากถึง 10-15 ลิตรต่อวัน โดยจะดูดซึมแร่ธาตุที่มีประโยชน์กลับสู่ร่างกายและขับถ่ายของเสียออกจากปัสสาวะ ดังนั้นภาวะน้ำเป็นพิษจึงไม่อันตรายหากมีการชดเชยเกลือแร่ควบคู่ไปกับการดื่มน้ำเวลาท้องเสีย อาเจียน หรือเสียเหงื่อมากๆ
ดังนั้น วิธีดื่มน้ำที่ถูกต้องและได้ประโยชน์สูงสุด คือ ค่อยๆ จิบไปตลอดทั้งวัน การดื่มรวดเดียวทีละมากๆ ก็เหมือนกับการเทน้ำทิ้งลงท่อเพราะร่างกายยังไม่ทันดูดซึมก็ถูกกำจัดทิ้งไปพร้อมปัสสาวะแล้ว สำหรับเกลือแร่หากรับประทานครบ 5 หมู่ จะได้เกลือแร่ที่สำคัญครบถ้วน แต่ถ้าหากเสียเหงื่อมาก อาเจียนและท้องร่วงควรเสริมเกลือแร่เพื่อปรับของเหลวในร่างกายให้สมดุล สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายปกติควรดื่มน้ำเปล่า 1 – 2 แก้ว ก่อนออกกำลังกายครึ่งชั่วโมงถึงสองชั่วโมง แต่หากมีการเสียเหงื่อมาก เช่น วิ่งมาราธอนหรือโยคะร้อนจำเป็นที่ต้องทดแทนเกลือแร่เข้าไปด้วยหรือวิธีสังเกตง่ายๆ ว่าร่างกายได้รับน้ำเพียงพอหรือไม่ ให้ดูปัสสาวะ หากมีสีจางใสและมีปริมาณมากแสดงว่าของเหลวในร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลแล้ว
Thank : จุลสารก๊าซไลน์
...............................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น