ยังครับ... ไม่ใช่แค่นั้น
ถ้าแต่ละวันคุณเอาแต่เฝ้าเสียดายอดีตสัก ๑ ชั่วโมง แล้วใช้เวลาอีกร่วม ๕ ชั่วโมงในการฟุ้งซ่านถึงอนาคต รวมทั้งหมด ๖ ชั่วโมงที่หายไปในแต่ละวัน ก็แปลว่า "เวลาจริงๆ" ที่คุณมีโอกาส "ใช้ชีวิต" นั้น เหลือแค่ ๓๐ ปี บวกลบกว่านั้นไม่มาก
ถ้านึกว่าตัวเลขนี้เกินจริง ก็ลองเฝ้าสังเกตกันเอาเอง ตอนปล่อยใจให้เหม่อลอยตามสบายเป็นพักๆนั้น เมื่อรวมกันแล้วมันได้เป็นจำนวนชั่วโมงสักเท่าไหร่
คุณอาจคิดว่าไม่เห็นจะเสียดาย ได้ใช้ชีวิตสบายๆเรื่อยเปื่อยก็พอแล้ว ซึ่งตอนยังมีโอกาสคิดสบายๆ เรื่อยเปื่อยก็น่าจะอย่างนั้น แต่พอถึงเวลาโดน "เช็คบิลตอนจบ" เรื่องไม่น่าเสียดายก็อาจกลับตาลปัตรกันได้มากทีเดียว
นโยบายที่เหมาะสำหรับการ "เริ่มต้นใช้ชีวิตให้คุ้ม" ควรนับจากการตัดสินใจบางอย่าง เช่น ไม่มัวสมมุติว่าย้อนเวลาได้จะแก้อะไรดี แต่สมมุติว่าถ้าสำนึกได้เดี๋ยวนี้ มีความคิดไหนให้เปลี่ยนบ้าง!
อีกอย่าง คือการ ตัดสินใจจะไม่กังวลเกี่ยวกับพรุ่งนี้ แต่ขยันทำทุกอย่างในวันนี้เพื่อให้สบายใจ ว่าได้ทำรากของวันพรุ่งนี้ไว้ดีที่สุดแล้ว
เมื่อตัดสินใจได้ว่าจะเอาแต่วันนี้ เมื่อวานไม่เอา พรุ่งนี้ไม่เอา ก็จะพบว่าการหลงใช้ชีวิตแบบ "สมมุติว่า" จะหายไป เหลือแต่การมีสติใช้ชีวิตแบบ "กำลังมีอะไรต้องทำ" ทันที
บางคนก็ติดอยู่ในอดีตและอนาคตเพียงเพราะโดนบั่นทอนกำลังใจ ประมาณตอกย้ำให้คิดว่าเป็นไปไม่ได้หรอก ทำไม่ได้หรอก ไม่ต้องพยายามหรอก ก็ขอให้เข้าใจว่าเสียงใครบั่นทอนกำลังใจเราก็ไม่เท่าเสียงในหัวบั่นทอนกำลังใจตัวเอง
การทวนกระแสหรือการขึ้นที่สูงต้องมีแรงต้านเป็นธรรมดา ถ้าไม่ภายนอกก็ภายใน จงมองว่าแรงเสียดทาน ต่อต้านไม่ให้เราทวนกระแสนั้น ชนะได้ก็เข้มแข็งมาก ตรงข้าม หากขาดแรงต้านเสียบ้างเลย เราก็คงไม่รู้จักรสชาติของความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงได้เป็นแน่
ถ้าจะใช้ชีวิตให้คุ้ม ต้องทุ่มเทกับการมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ "ใช้ชีวิตซ้ำอยู่ในหัว" และไม่ใช่ "ใช้ชีวิตล่วงหน้าอยู่ในฝัน" แล้วไปพบที่จุดจบว่าชีวิตนี้ไม่มีอะไรให้จับต้องได้จริงสักกี่เดือนกี่ปี
Thank : http://www.dhammajak.net/
...................................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น