ทฤษฎีของอาหารดิบ
เทคนิคการกิน Raw Food Diet นั้นมีหลากหลายมาก และคุณก็สามารถคิดค้นได้ด้วยตัวเองเสียด้วยซ้ำ โดยปกติแล้วร้อยละ 75-80 ของอาหารที่คุณกินจะมาจากพืช และไม่ปรุงด้วยความร้อนเกิน 115 องศาฟาเรนไฮต์ มีคนน้อยมากที่กินอาหารดิบจริง ๆ โดยนอกจากผักแล้วก็ยังเลือกกินซาซิมิ ปลาดิบ และเนื้อสัตว์ดิบบางชนิดได้ และคุณก็สามารถกินผักและผลไม้สดได้ อย่างหน่ออ่อนของพืช เมล็ดพืช และถั่ว รวมถึงเม็ดมะม่วงหิมพานต์ น้ำผลไม้สด น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้น น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ และธัญพืช
สารอาหารและแร่ธาตุจากอาหารดิบ
ไขมัน : ด้วย ความที่อาหารดิบจะเน้นผักกับผลไม้ ปริมาณไขมันที่รับจึงอยู่ระหว่างร้อยละ 20-35 ของปริมาณแคลอรี่ทั้งหมดที่ควรได้รับจากไขมันในแต่ละวัน ข้อดีคือไขมันเหล่านี้จะเป็นพวกไขมันไม่อิ่มตัวที่ดีอีกด้วย
โปรตีน : แม้จะไม่ได้กินเนื้อสัตว์มากมาย แต่โปรตีนก็ยังอยู่ในระดับพอดีๆ ด้วยผักใบเขียว เมล็ดพืช และถั่ว
คาร์โบไฮเดรต : ไม่มากและไม่น้อยเกินไป
เกลือ : ต้อง แยกระหว่างการกินอาหารแบบ Raw Food กับอาหารญี่ปุ่น โดยอย่างแรกนั้นคุณจะพบว่า การบริโภคเกลือน้อยลงมากและอยู่ในปริมาณที่แนะนำคือ โซเดียมไม่เกินวันละ 2,300 มิลลิกรัม (ยกเว้นผู้สูงอายุผู้ป่วยความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือโรคไตเรื้อรัง ซึ่งจำกัดไว้ไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัม) ในทางตรงกันข้ามการใช้โชยุอาจทำให้ระดับโซเดียมพุ่งสูงขึ้นได้ง่ายๆ
สารอาหารที่จำเป็นอื่นๆ
ใยอาหาร : ไม่ ต้องห่วงเรื่องใยอาหาร หากคุณกินผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่ว และเมล็ดพืชเป็นหลัก เพราะอาหารเหล่านี้มักจะมีใยอาหารสูงอยู่แล้ว ดังนั้น คุณน่าจะได้รับใยอาหารในปริมาณที่เหมาะสมคือ 22-34 กรัมต่อวัน
โพแทสเซียม : สาร อาหารชนิดนี้มีความจำเป็นต่อการควบคุมระดับความดันโลหิต ลดความเสื่อมของมวลกระดูก และลดโอกาสเกิดนิ่วในไต อย่างไรก็ดี การกินโพแทสเซียมให้ได้ปริมาณ 4,700 มิลลิกรัมต่อวันนั้นค่อนข้างยาก (แม้กล้วยจะมีโพแทสเซียมสูง แต่นั่นก็หมายความว่าคุณต้องกินประมาณ 11 ผลต่อวัน)
แคลเซียม : แคลเซียมไม่ ได้จำเป็นสำหรับกระดูกเท่านั้น แต่ยังสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดและการทำงานของกล้ามเนื้อ ซึ่งการกินอาหารดิบอาจทำให้คุณได้รับแคลเซียมน้อยเกินไปก็ได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเลือกกินคะน้า ผักใบเขียว แอพริคอตแห้ง เพื่อช่วยทดแทน
วิตามินบี 12 : ผู้ใหญ่ ควรได้รับสารอาหารชนิดนี้ อย่างน้อย 2.4 ไมโครกรัม มันจำเป็นอย่างมาก ต่อกระบวนการเมตาบอลิซึ่มของเซลล์ อย่างไรก็ดี วิตามินบี 12 พบในเนื้อสัตว์เป็นส่วนใหญ่ แม้ยีสต์ธรรมชาติอาจจะพอช่วยชดเชยได้บ้าง แต่การกินแคปซูลเสริมก็อาจจำเป็นเช่นกัน
วิตามินดี : ผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับแสงแดดมากพอ จำเป็นจะต้องได้รับวิตามินดีอย่างน้อย 15 ไมโครกรัมต่อวัน
อาหารดิบช่วยลดโรคหัวใจจริงหรือ
ยังไม่มีรายงานชัดเจน แต่การกินอาหารดิบอาจจะมีผลดีก็ได้ เนื่องจากการกินปลา ผัก และผลไม้ ถือว่ากินไขมันอิ่มตัวน้อยมาก โดยในปี 2005 วารสาร Nutrition เคยตีพิมพ์ผลการศึกษาว่า ผู้ใหญ่ 201 คนที่กิน Raw Food Diet เป็นเวลาสองปีจะมีระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมลดลง มีเพียง 14% ที่มีระดับ LDL สูง ในขณะที่ไม่มีใครมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงเลย
ผลกับโรคเบาหวาน
ยังไม่มีรายงานชัดเจนเช่นกัน สิ่งที่เราควรทราบคือ การมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นจากการได้รับแคลอรี่ (ไม่ว่าแคลอรี่นั้นจะมาจากไหนก็ตาม) จะทำให้ระดับภาวะการต้านอินซูอินเพิ่มขึ้น ดังนั้น ในทางกลับกัน การลดน้ำหนักและรักษาให้อยู่ในระดับนั้นเอาไว้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงเป็นเบาหวานได้
Sushi Pros & Cons
ข้อดี
โดย ทั่วไปแล้วซูชิจะให้โปรตีนคุณภาพดี แต่แคลอรีต่ำ มันมีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลอยู่น้อยมากจึงดีต่อหัวใจของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแซลมอน ซึ่งมีโอเมก้า-3 อยู่สูง เช่นเดียวกับปลาทูน่า ส่วนตัวสาหร่ายยิ่งเต็มไปด้วยแร่ธาตุมากมาย เช่น ไอโอดีน ซึ่งจำเป็นต่อระบบฮอร์โมนที่ปกติ นอกจากนี้ คุณยังได้แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก และไฟโตนิวเทรียนต์ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
นอกจากซูชิแล้ว น้ำส้มสายชูที่ใช้ในการทำซูชิก็มีคุณสมบัติต้านแบคทีเรียเช่นกัน นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมน้ำส้มสายชูถึงถูกใช้ในการถนอมอาหารมาตั้งแต่โบราณ มันช่วยเรื่องการขับถ่าย ลดความเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง และช่วยให้กระปรี้กระเปร่าขึ้นด้วยไม่มากก็น้อย
ข้อเสีย
แคลอรี่แอบแฝง เพราะเครื่องปรุงส่วนใหญ่ของซูชิจะถูกม้วน หรือปั้นเป็นชิ้นเล็ก บางทีคุณก็อาจจะลืมไปว่า มันมีแคลอรี่มากขนาดไหน อย่างเช่น ซูชิทูน่าอาจมีน้อยกว่า 200 แคลอรี่ก็จริง แต่ถ้ารวมมายองเนส เทมปุระ หรือซอสอื่น ๆ คุณก็จะได้แคลอรี่เพิ่มขึ้นอีกมากโข (ซอสถั่วเหลือง มีแคลอรี่ต่ำก็จริง แต่มีโซเดียมสูง)
ระดับปรอท : แหล่งน้ำเปิด อย่างเช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ และทะเล จะทำให้ปลาปนเปื้อนปรอท สารพิษต่อระบบประสาทที่เป็นที่รู้จักดี บรรดาปลานักล่าตัวใหญ่จะมีระดับปรอทสูงสุด รวมถึงปลาทูน่าที่พบในซูซิ ดังนั้น เด็กเล็ก สตรีมีครรภ์ หรือคนที่วางแผนจะตั้งครรภ์ควรอยู่ห่างจากปลาดิบเหล่านี้
Expert’s Corner
ภัยแฝงจากอาหารดิบ
ปลาดิบ ลาบ หลู้ อันตรายอย่างไร ลองมาฟัง นพ.ธวัช มงคลพร ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหารและตับ ร.พ.สมิติเวช สุขุมวิท
การกินอาหารดิบมีอันตรายอย่างไร
ภาพรวม คือ ถ้าเรากินเนื้อดิบ หรืออาหารดิบ ก็จะเสี่ยงกับการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น อาหารทะเลดิบๆ หรือแม้แต่อาหารปรุงสุกแล้วแต่ปล่อยไว้นานๆ ก็อาจจะทำให้ติดเชื้อได้ ยกตัวอย่างเช่น โรคหูดับที่เกิดจากการกินเนื้อหมูดิบปรุงไม่สุก ก็จะมีแบคทีเรียที่ทำให้หูหนวกได้
อย่างที่สองคือ ถ้าในกรณีที่เป็นเนื้อวัว หรือเนื้อหมู และมีพยาธิตัวตืดอยู่ เวลากินก็จะมีเม็ดสาคูซึ่งก็คือพยาธิที่ยังไม่โตเต็มวัย มันจะเจริญเติบโตภายในตัวเรา จนทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารบางอย่าง อีกกรณีหนึ่งก็ในเนื้อปลาดิบ โดยเฉพาะปลาทะเล น้ำลึกจะมีพวกพยาธิตัวกลม ซึ่งจะทำให้เราเป็น Accidental Host มาอยู่ในกระเพาะ หรือลำไส้และทำให้เราเจ็บปวดได้ ทีนี้ ถ้าเป็นปลาน้ำจืด ที่ติดมาก็จะเป็นพยาธิตัวจี๊ดที่จะไชเข้าไปในผิวหนัง หากพยาธิอยู่ที่ตาก็จะสามารถไชเข้าไปได้ทุกที่ หรือบางคนเข้าไขสันหลังก็จะทำให้สมองอักเสบได้
คนเราจะรู้รึเปล่าถ้ามีพยาธิอยู่ในตัว
ถ้า ไม่มาตรวจก็จะไม่เจอ ขึ้นอยู่กับชนิดของพยาธิ พยาธิบางตัวต้องไปดูที่อวัยวะนั้น ๆ แต่ส่วนใหญ่ มันจะผลิตไข่ออกมากับอุจจาระ ต้องใช้วิธีตรวจอุจจาระ ซึ่งโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนจะมีการตรวจที่ละเอียด คือปั่นให้ข้นแล้วเอาที่ข้น ๆ มาตรวจดู ก็จะตรวจหาไข่ของพยาธิได้ดีขึ้น
ความจริงในปัจจุบันพยาธิก็เป็นเรื่องไกลตัวพอสมควร เพราะเดี๋ยวนี้เรามีห้องน้ำในบ้าน แต่เราจะรู้ได้ยังไงว่า แม่ครัวล้างมือ สะอาดพอ หรือเขามีไวรัสตับอักเสบเอหรืออีไหม? หรือว่าเขาปรุงอาหารสุกขนาดไหน ถ้าเขาปรุงไม่สุกเราจะรู้รึเปล่า?
ฉะนั้น จึงอยากให้กินทุกอย่างที่ปรุงสุกแล้ว ในกรณีของเนื้อสัตว์ขอให้ปรุงสุกและใหม่ก็จะปลอดภัยกว่ามาก ส่วนผักสลัดก็ควรล้างด้วยตัวเอง โดยล้างแล้วเทน้ำทิ้ง เผื่อบางทีมีไข่ติดอยู่ และจะได้เอาสารเคมีออกไปด้วย ในกรณีที่สัตว์มีเปลือกอย่างหอยจะต้องต้มนานกว่าปกติ และที่สำคัญกว่านั้นก็คือถ้ามีอาการผิดปกติก็ต้องปรึกษาแพทย์
Thank : women thaiza
..............................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น