เมื่อเซ็กซ์กลายเป็นจุดขายของหนังสือนิยาย ความสนใจจึงตกไปอยู่ที่กลุ่มวัยรุ่นที่สามารถซื้อหนังสือได้สบาย ๆ ในราคาที่ไม่แพงมากนัก โดยไม่สนใจเรตติ้งที่เขียนติดอยู่บนปกหนังสือเลยแม้แต่น้อย บางร้านหนังสือยังเปิดโอกาสให้นักอ่านสามารถทดลองอ่านหนังสือได้ฟรี ๆ คงต้องยอมรับว่าการเขียนฉากรักในนิยายทำให้หนังสือนิยายเป็นที่ต้องการของตลาด การแสดงฉากรักผ่านตัวหนังสือดูเหมือนจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ เลยดูเหมือนว่านิยายที่ไม่มีฉากรักคงไม่เป็นที่ต้องการไปเสียแล้ว
การจัดเรตติ้งนิยายดูเหมือนจะเป็นวิธีการแบบไทยๆ คือวัวหายล้อมคอมอีกตามเคย ประเด็นคือเมื่อล้อมคอกจริง ๆแล้วจะปฎิบัติได้จริงหรือ เพราะคนที่กำลังจะย้ายไปอยู่ในคอกก็ระวังตัว อยากรอดูทีท่าที่ชัดเจนเพื่อจะได้ปรับตัวรองรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น ส่วนคนที่อยู่ในคอกแล้วก็อาจจะอยากย้ายออกไปอยู่นอกคอก
คงไม่ผิดนักหากจะบอกว่าเป็นยุคสมัยที่กำลังเดินหน้าเข้าสู้ความเฟื่องฟูและเต็มไปด้วยความคิดที่ถูกถ่ายทอดจากนักเขียนสู่ปลายปากกาไปจนถึงสายตาของนักอ่าน จนมีให้ผู้อ่านได้เลือกอ่านมากมายหลายรูปแบบที่สามารถเรียกได้เต็มปากเลยว่า ทุกซอกทุกมุม สิ่งหนึ่งที่ดูจะขัดแย้งกันเป็นพิเศษกลับกลายเป็นร้านหนังสือเองที่ชั้นวางหนังสือเต็มไปด้วยนิยายรักแสนหวานกึ่งโรแมนติก หรือแม้กระทั่งงานเขียนที่แฝงไว้ด้วยเนื้อหาในบางฉากบางตอนที่เลยเถิดไปจนถึงเรื่องบนเตียงซึ้งกำลังมาแรงอยู่ในขณะนี้อย่างวรรณกรรมอิโรติก
จากกรณีที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จะจัดเรตติ้งหนังสือประเภทต่าง ๆ ตามที่สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จัดจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยเสนอนั้น ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เล่าถึงที่มาของการจัดเรตติ้งสื่อให้ฟังว่า เริ่มขึ้นในปี 2547 จากการวิจัย เด็กไทยในมิติวัฒนธรรมของกระทรวงผู้วิจัยคือสถาบันรามจิตติ ทำการวิจัยปัญหาความเบี่ยงเบนในสถานการณ์เด็กไทยตั้งแต่ ปี 2547 ถึงปัจจุบันพบปัญหาเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ อาชญากรรม ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมและค่านิยม มีวิธีคิดเช่นนี้ก็คือ สื่อ นักวิจัยสรุปว่า ควรแก้ปัญหาที่สื่อเพื่อไม่ให้เบี่ยงเบน เป็นการทำงานร่วมกันทั้งระบบคือ คนในสังคม ผู้บริโภคและผู้ประกอบการ จึงมีความเห็นว่า ต้องมีการจัดระดับความเหมาะสมของสื่อทุกประเภท
“เด็กอ่านหนังสือหนังสือมักสอดแทรกความลามก ผู้ใหญ่อ่านแมกกาซีนที่วางอยู่บนแผงก็คละเคล้าไปด้วยภาพที่ล่อแหลม อ่านได้อย่างเปิดเผย ยิ่งประเทศไทยมีหนังสือมือสอง มากมาย ที่หาซื้อได้ง่าย รวมทั้งหนังสือที่ออกมาใหม่ก็มีกลยุทธ์ทางการตลาด คือ การปันกัน เช่น หนังสือราคา 90 บาท อาจจะจ่ายเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน ตกเล่มละ 10-15 บาท แล้วก็แชร์กันอ่าน
แค่นี้ยังไม่พอหนังสือถูกส่งต่อไปที่รถซาเล้ง ไปยังผู้ใหญ่หรือเด็กในระดับล่าง คนที่อยู่ในฐานะหาเช้ากินค่ำก็ได้อ่าน ตรงนี้อาจกลายเป็นปัญหาสังคมที่คนบางกลุ่มอาจมองไม่เห็นถึงโทษตรงนี้ว่า วันหนึ่งคนที่ถูกทำร้ายจากเด็กหรือคนเหล่านั้นอาจเป็นลูกหลานของคุณก็ได้ จึงต้องมองให้ครอบคลุม มองที่เจตนา เพราะไม่มีใครอยากถูกจับผิด เพราะจะไปขัดผลประโยชน์ ขัดช่องทางหารายได้ อยากให้มองทุก ๆ สังคมว่าเราต้องอยู่ร่วมกัน”
Thank : manager online
................................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น