นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีข่าวสาวขอนแก่นหวิดเสียโฉม เพราะใช้เครื่องสำอางยี่ห้อหนึ่ง เกิดอาการแสบคัน และมีผื่นขึ้นเต็มหน้า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ประสานกับกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น พบว่าเป็น
เครื่องสำอางยี่ห้อ “3 ทรีเดย์ ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน โลชั่นป้องกันแสงแดด” ซึ่งมีส่วนผสมของสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง ได้แก่ สารไฮโดรควิโนน ซึ่งก่อให้เกิดการแพ้ ระคายเคือง เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ทำให้ผิวหน้าดำเป็นฝ้าถาวรรักษาไม่หาย
ทั้งนี้ เครื่องสำอางดังกล่าวเป็น 1 ในเครื่องสำอาง 34 รายการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ประกาศเป็นเครื่องสำอางที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือขาย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดชื่อเครื่องสำอางที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือขาย ได้แก่ (1) BEANNE บีแอน ครีมไข่มุกตราแตร (2) แอนตี้-ฟาร์ ครีม (3) แอนตี้-ฟาร์ โลชั่นกันฝ้า ปรับผิว (4) ROSE ครีมขจัดฝ้า (5) FAR-ACT ครีมรักษาฝ้า
(6) CN คลินิก 99
(7) ครีมฝ้าเมลาแคร์ (8) โลชั่นกันแดด กันฝ้า เมลาแคร์ (9) ครีมวินเซิร์ฟ (10) โลชั่นวินเซิร์ฟ ลดฝ้ากันแดด (11) MUI LEE HIANG PEARL CREAM (12) เอสจี โลชั่นปรับสภาพผิว (13) เลนาว ครีมบำรุง ผิวหน้ากลางคืน (14) NEW CARE นิวแคร์ ครีมประทินผิว (15) NEW CARE นิวแคร์ โลชั่นปรับสภาพผิว (16) 3 ทรีเดย์ ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน ครีมลดริ้วรอยหมองคล้ำ (17) 3 ทรีเดย์ ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน โลชั่น ป้องกันแสงแดด (18) 3 ทรีเดย์ เนเชอรัล ครีมทาสิว
(19) 3 ทรีเดย์ เนเชอรัล โลชั่นป้องกันแสงแดด (20) พรีม ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน ครีมลดริ้วรอย (21) พรีม ไบรเทน แอนด์ รีไวเทน โลชั่นป้องกันแสงแดด (22) มิสเดย์ ครีมแก้สิว (23) มิสเดย์ ครีมแก้ฝ้า (24) พอลล่า ครีมทาสิว (25) พอลล่า ครีมทาฝ้า (26) พอลล่า โลชั่นกันแดดรักษาฝ้า (27) ครีมชาเขียว DR. JAPAN (28) ครีมชาเขียว MISS JAPAN (29) ชิชาเดะ ครีมหน้าขาว โสมผสมไข่มุกญี่ปุ่น (30) ครีมบัวหิมะ หลิง หลิง (31)ครีม QIAN MEI (32) ครีม QIAN LI (33) ครีม CAI NI YA (34) ครีม JIAO LING
หากผู้ใดฝ่าฝืนผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ทั้งนี้ ผู้บริโภคสามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องสำ อางที่มีสารห้ามใช้ได้ทางwww.fda.moph.go.th เลือกเกี่ยวกับเรา เลือกหน่วยงานภายใน เลือกกลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง แล้วพิมพ์ชื่อเครื่องสำอางที่สงสัยในช่องที่ระบุว่าค้นหา ซึ่งหากเป็นเครื่องสำอางที่เคยประกาศผลวิเคราะห์ว่าพบสารห้ามใช้จะปรากฏรายละเอียดให้เห็น
รองเลขาธิการฯ อย. กล่าวใว่า ขอให้ผู้บริโภคเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสถานที่ จำหน่ายที่มีหลักแหล่งน่าเชื่อถือ และก่อนตัดสินใจซื้อควรสังเกตฉลากผลิตภัณฑ์ โดยฉลากต้องมีข้อความภาษาไทย ระบุข้อความอันจำเป็นครบถ้วน ได้แก่ ชื่อและชนิดของเครื่องสำอาง เลขที่ใบรับแจ้ง(เป็นเลข 10 หลัก) สารที่ใช้เป็นส่วนผสม วิธีการใช้ ชื่อที่ตั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้า ปริมาณสุทธิ เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต เดือนปีที่ผลิต และคำเตือน(ถ้ามี)
อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคพบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องสำอาง ขอให้ร้องเรียนที่ สายด่วน อย. โทร. 1556 หรืออีเมล์ : 1556@fda.moph.go.th หรือ
ส่งจดหมายไปที่ ตู้ ปณ.1556 ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 เพื่อ อย. จะได้ตรวจสอบและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
Thank : มติชน
............................................................................................
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น